top of page

หัวข้อเรื่อง กรณีศึกษา “ครูกับการใช้นวัตกรรมสารสนเทศในการสอน”

 

หตุผลในการศึกษา

 

                ปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนมากขึ้น ครูผู้ทำหน้าที่สอนและเป็นผู้ใช้สื่อจึงต้องคัดเลือกเนื้อหาและเลือกสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีประโยชน์ให้กับผู้เรียนมากที่สุด ถ้าเราสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีนวัตกรรมในทางที่สร้างสรรค์ เพื่อเป็นการขยายความรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนก็จะได้ประโยชน์มากขึ้น แต่ถ้าผู้สอนไม่ได้ตระหนักถึงโทษของสื่อนวัตกรรม ก็จะสร้างปัญหาให้กับผู้เรียน ในการทำกรณีศึกษานี้จึงมุ่งเน้นต่อครูผู้สอนในเรื่องการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้ทราบว่าในการสอนของครูผู้สอน การใช้เทคโนโลยีมีประโยชน์และโทษในการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อนำมาประมวลผลและติดตามการสอนของครูโดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาของครูและให้ทราบปัญหาและการดำเนินการแก้ไขต่อไป

 

แหล่งข้อมูลการศึกษา

 

                1. ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 2 ท่าน
                                1) นางสาวรัฐณากรป์         แช่มพุก
                                2) นางสาวอุบลศรี               ครูเจริญ
                2. www.gotoknow.org

 

สมมุติฐานขั้นต้น

 

                การใช้สื่อและเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน จะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี

 

 

การวินิจฉัยปัญหา

 

                จากการสัมภาษณ์ครูทั้ง 2 ท่านที่ใช้เทคโนโลยี (I-PAD) ในการสอนเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 2-3 ปี พบว่ามีทังข้อดีและข้อเสียเกิดขึ้นดังนี้

               

ข้อดี
                - เด็กมีความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น
                - เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมผ่านเทคโนโลยีมากขึ้น
                - ครูหาข้อมูลเตรียมการสอนได้ง่ายขึ้น
                - มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
                - ครูสามารถคัดสรรเนื้อหา แหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ให้กับเด็ก
               

ข้อเสีย
                - เด็กขาดการฝึกกล้ามเนื้อมือ
                - เด็กมีการใช้เทคโนโลยีผิดประเภท
                - การใช้เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาอย่างรวดเร็วจะส่งผลให้เด็กขาดความอดทนในการเรียนรู้ทำให้เด็กมีสมาธิในการเรียนรู้น้อยลง
                - การเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีทำได้ยาก เนื่องจากเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน เช่น wifi สัญญาณไม่ดีพอต่อการเรียนการสอน
                - จำนวนอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อปริมาณผู้เรียน

 

ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ปัญหา

 

                จากข้อวินิจฉัยดังกล่าวมี ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหา ดังนี้


                1. มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบอื่นๆ ร่วมด้วย
                2. เสริมกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้ฝึกสมาธิหรือทำกิจกรรมที่สร้างความอดทน ใจเย็น เพิ่มมากขึ้น เช่น การนั่งสมาธิ
                3. กำหนดการเข้าถึงเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลโดยครูผู้สอนเป็นผู้ควบคุมการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียน
                4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาระบบขั้นพื้นฐานในด้านเทคโนโลยีให้ควบคุมทุกพื้นที่
                5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดสรรงบประมาณลงไปในพื้นที่เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน

 

การติดตามผลการศึกษา

 

                เนื่องจากว่ากรณีการศึกษาในครั้งนี้มีเวลาเพียงเล็กน้อย ทางกลุ่มผู้ศึกษาหวังว่าการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้สอนจะเป็นไปในทิศทางตามการตั้งสมมติฐานของกลุ่มผู้ศึกษาเพื่อจะส่งผลประโยชน์ต่อการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการศึกษาของเยาวชนไทยต่อไป

 

ขอขอบคุณ คุณครูผู้ให้ข้อมูล

 

1. นางสาวรัฐณากรป์          แช่มพุก

2. นางสาวอุบลศรี               ครูเจริญ

 


 

 

 

 

 

คณะผู้จัดทำ

  

1. นายกมล นาคสุทธิ

2. นายฐกร ไวว่องกิจการ

3.นางสาวเย็นฤดี พันธ์แก้ว

4.นางสาวชนัญชิตา แก้วบุตรดี 

5. นางอาอีซะห์ วิหวา

 
 
 
 
 
 
 
 
 

FOLLOW US:

  • Google+ B&W
  • Facebook B&W
  • LinkedIn B&W

© 2023 by Funeral Home. Proudly created with Wix.com

bottom of page